ประวัติความเป็นมาของหน่วย

เมื่อปี พ.ศ. 2496 สถานการณ์ทางภาคเหนือของระเทศไทยเกิดความคับขัน สืบเนื่องจากมีการสู้รบกัน ระหว่าง กองทัพของประเทศพม่ากับกองทหารจีน คณะชาติ ที่เรียกกันว่า “กองพลที่ 93” ซึ่งหนีถอยร่นจากการยึดครองแผ่นดิน ใหม่ของจีน คอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เข้ามาใช้แผ่นดิน ของประเทศพม่า เป็นที่อยู่อาศัยและตั้งฐานปฏิบัติการต่อสู้ กอบกู้อำนาจการปกครอง ให้กลับคืนมาโดยไม่นำพาต่อการทักท้วงของประเทศพม่า นอกจากกองทัพ ของประเทศพม่า จะทำการ สู้รบ เพื่อขับไล่กองทหารจีน คณะชาติดังกล่าวให้ออกจาก เขตยึดครองแล้วยังต้องต่อสู้กับกองกำลัง ของ ชาติกะเหรี่ยง มอญ ไทยใหญ่ ที่เรียกร้อง สิทธิในการปกครองตนเอง การสู้รบได้แผ่ขยายลงมา ทางใต้ ตามแนวชายแดน ด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยระหว่างการสู้

ระหว่างการสู้รบของทั้งสองฝ่ายทำให้กระสุนปืนของอาวุธหนักตก ในเขตไทย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ตามบริเวณชายแดนและราษฎรพม่า อพยพหลบหนีภัยจากการสู้รบเข้ามาเป็นจำนวนมากนอกจากนั้นการดำเนินกลยุทธของทั้งสองฝ่าย มีกองกำลังทหารบางส่วนรุกล้ำเข้ามาในเขตประเทศไทย เป็นการคุกคามความ สงบเรียบร้อยของราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนประกอบกับจะมีการอพยพทหารจีน คณะชาติที่ตกค้างอยู่ในประเทศพม่าออกมาทาง อ.แม่สอด จว.ตากตามมติขององค์การสหประชาชาติ กองบัญชาการตำรวจรักษาดินแดนภาคอีสาน จึงได้สั่งกำลัง 1 กองร้อยตำรวจรักษาดินแดนในบังคับบัญชาของ พ.ต.ท.พร้อม ณ ป้อมเพชร มาประจำอยู่ทาง อ.แม่สอด จว.ตาก เพื่อรักษาสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่า ที่เกิดขึ้นดังกล่าว อันเป็นต้นกำเนิดของ กองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนเขต 6 และพัฒนามาเป็น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 แห่งนี้

หลังจากย้ายที่ตั้งจาก อ.แม่สอด จว.ตาก มาเข้าที่ตั้งแห่งใหม่บ.ดงปู ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง เมื่อ 4 ตุลาคม 2511 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 6 ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวฯ ให้ใช้ชื่อค่ายว่า “ค่ายพระเจ้าตาก” และต่อมาเมื่อ 7 ธันวาคม 2512 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จ ฯ มาเป็นองค์ประธานเปิดอาคารที่ทำการ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 6 และได้ยึดถือเอาวันที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเปิดอาคารที่ทำการเป็นวันกำเนิดค่ายพระเจ้าตาก พ.ศ.2529 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 6 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่เป็น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ฉบับที่ 14 พ.ศ.2529 ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2529 จนถึงปัจจุบัน

เกียรติประวัติของ กก.ตชด.34

  การผลักดันกองกำลังชนกลุ่มน้อย “กองกำลังขุนส่า” กลุ่ม SUA ได้อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตประเทศไทย ที่บ้านหินแตกตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2506 โดยมี ขุนส่าหรือจางซีฟู เป็นผู้นำดำเนินการค้าและผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทฝิ่นและกัญชา จนกระทั่งมีฐานะด้านเศรษฐกิจดีขึ้น มีการพัฒนาปรับปรุงที่อยู่อาศัยอย่างถาวร สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ และกองกำลังทหารติดอาวุธประมาณ 4,000 คน เป็นเอกเทศ ทางรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า แนวโน้มกองกำลังติดอาวุธมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติจึงได้จัดชุดเจ้าหน้าที่การข่าวออกปฏิบัติการติดตามหาข่าว ความเคลื่อนไหวของกองกำลังขุน ส่า มาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนผลักดันกลุ่มขุนส่าให้ออกนอกราชอาณาจักร

ตามหนังสือกรมประมวลข่าวที่ 1736/12963 ลง 25 ธันวาคม 2524 ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลงนามอนุมัติให้ใช้กำลังของ บก.ตชด.ภาค 3 จัดกำลังปฏิบัติการยุทธวิธี ทำการผลักดันกองกำลังขุนส่าออกจากราชอาณาจักร จากการพิจารณาการใช้กำลังของหน่วยเหนือ ได้พิจารณา อนุมัติให้ กก.ตชด.เขต 6 เป็นกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเฉพาะกิจ 6 โดยมี พ.ต.อ.ทองอุณห์ เจริญสม เป็น ผบ.กองกำลังเข้า ปฏิบัติการทางยุทธวิธี ในพื้นที่เป้าหมายที่ หินแตก แต่ 20-29 มกราคม 2525 มีที่หมายดังนี้

1. กองบัญชาการกองทัพสหรัฐฉาน (บ้านขุนส่า)
2. ที่ตั้งหน่วยอารักขาประจำตัวขุนส่า
3. บ้านพักเสนาธิการทหาร (จางซูฉวน)
4. ส่วนการติดต่อสื่อสาร
5. แหล่งผลิตไฟฟ้า และทุ่นระเบิด
6. คลังอาวุธกระสุน
7. ค่ายฝึกทางทหาร

เมื่อ 20 มกราคม 2525 พ.ต.อ.ทองอุณห์ เจริญสม ผกก.ตชด.เขต 6 เป็น ผบ.กกล.ตชด.ฉก.6 ได้ร่วม กำลัง ตชด.เขต 6 มาประกอบกำลังเป็น กกล.ตชด.ฉก.6 จำนวน 813 คน เดินทางโดยรถยนต์และจักรยานยนต์ของทางราชการ จำนวนรวมประมาณ 100 คัน ปรับกำลังออกเป็น กองร้อย ตชด.ฉก. จำนวน 4 กองร้อย ปฏิบัติการทางยุทธวิธีดังนี้
1. ร.ต.ท.ปรีชา หงส์จร เป็น ผบ.ร้อย ตชด.ฉก.ที่ 1
2. ร.ต.ท.ราเชนทร์ ตุงคะเตชะ เป็น ผบ.ร้อย ตชด.ฉก.ที่ 2
3. ร.ต.ท.สรรพวุฒิ พิพัฒน์พันธ์ เป็น ผบ.ร้อย ตชด.ฉก.ที่ 3
4. ร.ต.ต.ไพศาล สุระวาศรี เป็น ผบ.ร้อย ตชด.ฉก.ที่ 4

คุมกำลังเข้าพื้นที่เป้าหมายต่าง ๆ ตามที่หน่วยเหนือกำหนด เพื่อทำการเจรจาและผลักดัน กองกำลัง ขุนส่า ออกนอกราชอาณาจักร เพื่อความมั่นคงของชาติ ในนามตัวแทนรัฐบาล พ.ต.อ.ทองอุณห์ เจริญสม ทำการ เจรจาด้วยสันติไม่เป็นผลสำเร็จ จึงมีความจำเป็นใช้กำลังทำการผลักดัน การปะทะด้วยกำลังจึงเกิดขึ้นเมื่อเวลา ประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 21 มกราคม 2525 ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มเติมขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งอาวุธหนักและปืนเล็ก ความเสียเปรียบของ กกล.ตชด. ฉก.6 มีมาก เนื่องจากความอ่อนเพลียในการเดินทาง ไม่ ทราบพื้นที่ภูมิประเทศ และกำลังน้อยกว่า แต่ด้วยความชำนาญด้านการรบ การบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาของ
ผู้บังคับหน่วยอย่างใกล้ชิด ทำให้ กกล.ตชด.ฉก.6 ยึดพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญ ๆ ไว้ได้ ทำการผลักดันกองกำลังขุนส่าออกนอกราชอาณาจักรตอบสนองนโยบายของรัฐบาลเป็นผลสำเร็จ ยึดพื้นที่ , อาวุธยุทโธปกรณ์ ทำความเสียหาย
ให้แก่กลุ่มขุนส่าหมดทางต่อสู้อย่างสิ้นเชิง กก.ตชด.เขต 6 ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลให้เป็นตัวแทนของรัฐบาล เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดตาก ไปปฏิบัติภารกิจผลักดันกองกำลังติดอาวุธขุนส่า ที่ก่อความไม่สงบในพื้นที่ กระทบกระเทือนต่อความ มั่นคงของประเทศไทย ออกนอกประเทศที่ บ้านหินแตก ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็น ภาระปฏิบัติที่เสี่ยงได้ เสี่ยงเสียเป็นอย่างมาก การปกปิดภารกิจเป็นความลับสุดยอด ในการเดินทางเข้าไป
ในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ทราบพื้นที่ ภูมิประเทศมาก่อน